วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เหนื่อยไหมกับเปลี่ยนแปลง?

       จากอดีตถึงปัจจุบันนโยบายทางการศึกษาได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง  ครู   จึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้เข้ากับนโยบายมาโดยตลอด โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันศึกโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การศึกษาจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ครูสมัยนี้บางคนอาจเปลี่ยนตัวเองไม่ทันจากที่เมือก่อนเคยสอนอย่างเดียวเป็นหลัก แต่ปัจจุบันมีสิ่งที่ต้องทำมากขึ้น ทำให้เกิดความคิดที่ไม่ตรงกันที่เกิดขึ้นเป็นกระแสในบางช่วงเวลา หรือบางคนก็เลิกสนใจเพราะเหนื่อยที่จะปรับเปลี่ยนตนเอง

        การปฏิบัติของครูสมัยนี้นั้นต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะตื่นตัวต่อนโยบายที่จะเกิดขึ้น กระบวนการหรือวิธีการสอนที่เกิดขึ้นใหม่  แม้ต่ข้อมูลข่าวสารอื่นๆที่เกิดขึ้นในโลกอีก เช่นกัน
ทำให้ครูในยุคนี้ดูมีภาระที่มากมาย เพระจากที่กล่าวมาทำให้นอกจากจะต้องสอนให้ได้ตามตัวชีวัดแล้ว ยังต้องสอนตามนโยบาย และยังต้องรอบรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ   และผู้เรียนในปัจจุบันมีความสนใจที่จะเรียนรู้จากตัวผู้สอนน้อยลง เพราะบางสิ่งที่สอนนั้นสามารถค้นหาจากความรู้จากเว็บ search engine หรือเว็บไซด์ต่างๆได้อย่างง่ายดาย และเรื่องที่น่าสนใจภายนอกนั้นมีอยู่มากมายเช่นกัน หากครูยุคใหม่ไม่เท่าทันก็ไม่สามารถหาสิ่งจูงใจมาสอนนักเรียนได้

        ไม่ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วแค่ไหน ความรู้ภายนอกห้องเรียนจะมีมากมายเพียงใด แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนคือ "การปลูกฝังให้นักเรียนของเราเป็นคนดี"
        ครูนั้นเหนื่อยได้เพราะครูก็เป็นคน แต่เหนื่อยแล้วอย่าหยุดเพราะถ้าครูหยุดลูกศิษย์ตาดำๆจะเป็นอย่างไรลองคิดดู "เหนื่อยไหมกับเปลี่ยนแปลง?"
โดย Here Jack

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ทำไมครูถึงไม่บอกสิ่งที่หนูอยากรู้

         วันที่ 7-8 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ไปศึกษาดูงานมา และรวมกับสิ่งที่ได้พบได้เห็นแล้วเจอมากับตัวตั้งแต่เล็กจนถึงปัจจุบันแล้วเกิดคำถามว่า "เวลานักเรียนเขาอยากรู้ทำไมครูบางคนถึงไม่แนะนำหรืออธิบาย ?"

โดยธรรมชาติของการเรียนรู้มี 4 ขั้น คือ

 1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้

 2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้นๆ

 3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่างๆเช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้าเป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล

 4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนี่งจะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย

              เพราะฉะนั้นการเรียนรู้นั้น ถ้าคนเกิดการอยากรู้ในสิ่งใดๆแล้ว ถ้าได้รู้ในตอนที่อยากรู้นั้นจะทำให้จดจำความรู้นั้นๆได้เกือบจะตลอดชีวิต แถมนักเรียนก็อยากรู้เองโดยครูไม่ต้องเร้า หรือกระตุ้นใดๆ ถ้าครูบอกดีดีหรืออธิบายยังได้แถมโปรโมชั่นเพิ่มเติมกับนักเรียนร่วมห้องก็ได้รู้เรื่องนั้นๆด้วย ถึงเรื่องอาจจะไม่ตรงกับวิชาที่เรียนก็ตาม ครูบางคนก็ดุว่า "ตอนนี้เรียนเรื่องนี้อยู่ไม่ควรรู้เรื่องนั้น" บางคนก็ดุอย่างเดียว บางคนก็บอกว่า "เอาไว้ก่อนนะเรามาเรียนเรื่องนี้กันต่อดีกว่า" หรือครูบางคนก็จ้องทำหน้าไม่พอใจแล้วก็สอนต่อไป
คุณก็ลองคิดซิถ้าเป็นคุณ คุณจะรู้สึกอย่างไร และจะเกิดอะไรขึ้น

 ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่จะเกิดตามมา คือ
  • ความกล้าที่จะตั้งคำถามในประเด็นที่ต่างออกไปจะหายไปไม่มากก็น้อย
  • นักเรียนจะขาดกำลังที่จะคิดเรียนรู้สิ่งใหม่
  • ลดประสิทธิภาพในการเรียนรู้
              ซึ่งผู้เขียนไปได้เห็นโรงเรียนที่ได้สอนนักเรียนให้รู้ในสิ่งที่ต้องรู้ตามหลักสูตรและตัวชี้วัดมาและยังให้โอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งอื่นที่หลักสูตรและตัวชี้วัดไม่ได้บอกไว้แล้วนักเรียนก็มีความสุขระหว่างเรียนแล้วผลสัมฤทธิทางการศึกษาก็ดีขึ้นทุกปีอีกด้วย

    บทความนี้ผู้เขียนหวังว่าจะได้กระตุ้นอะไรสักอย่างในแง่ดีกับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย


เขียนโดย นายวีรพงศ์ นกสุข